|
|
|
|
จากหนังสือประวัติอำเภอบ้านสร้างที่จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2542 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ได้รายงานไว้ว่าแต่เดิมพื้นที่อำเภอบ้านสร้างเป็นพื้นที่ป่าไม้เบญจพรรณ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดสัตว์ที่มีมากที่สุดคือช้างป่า มนุษย์ได้เข้ามาตั้งเป็นถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ ทราบว่าเป็นชาวลาวอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์เนื่องจากเกิดความระส่ำระสายเพราะการช่วงชิงอำนาจกัน ประชาชนจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ ที่เรียกว่าทุ่งอำเภอบ้านนา และทุ่งดงละคร อำเภอเมืองนครนายก และที่อำเภอบ้านสร้างโดยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ตามฝั่งแม่น้ำบางปะกงและริมคลองทั่วไปในพื้นที่ และทำมาหากิน โดยการเพาะปลูกเพราะพื้นที่เป็นที่ราบมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ชาวลาวเวียงจันทน์ยังนิยมเลี้ยงช้างที่เป็นสัตว์ที่มีชุกชุมในพื้นที่ หลักฐานที่ใช้อ้างอิง ได้คือปัจจุบันยังมีคูน้ำที่เป็นทางช้างข้ามพื้นที่ไปยังป่าดงละครที่อยู่ติดกับ หมู่ 8 และหมู่ 10 (หมู่บ้านคลองสองและหมู่บ้านท่ากระทุ่ม) ของตำบลบ้านสร้าง และในปัจจุบันยังมีชื่อและท้องที่ที่เกี่ยวข้องกับช้างอยู่หลายแห่ง เช่น วัดท่าช้าง วัดคเชนพนารามฯลฯ เมื่อบริเวณนี้เป็นท้องที่ที่มีช้างมากและผู้คนนิยมเลี้ยงช้างชาวบ้านจึงขนานนามท้องที่นี้ว่า "บ้านช้าง" แต่เนื่องจากสำเนียงเรียกของชาวเวียงจันทน์เรียกว่าบ้านสร้างการจดบันทึกนามภูมิศาสตร์ของท้องที่ จึงกลายเป็น "บ้านสร้าง" ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลบ้านสร้าง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลบ้านสร้าง จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2499 และลงประกาศในราชเทศบาลตำบลบ้านสร้าง เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลบ้านสร้างจัดตั้งขึ้น ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2499 และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 73 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499 ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบลบ้านสร้าง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตามความในพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล เป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลบ้านสร้าง ตั้งอยู่บนถนนบ้านสร้าง - นครนายก ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี 25150 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของจังหวัดปราจีนบุรี มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร และมีระยะห่างจากกรุงเทพฯ (เขตหนองจอก) ประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่ 16 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
   |
ดวงตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาลตำบลบ้านสร้าง เป็นรูปวงกลมล้อมรอบช้างขอบด้านบนมีข้อความว่า เทศบาลตำบลบ้านสร้าง ขอบด้านล่าง มีข้อความว่าจังหวัดปราจีนบุรี ภายในวงกลมประกอบด้วย ช้าง หมายถึง ช้างซึ่งเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอบ้านสร้างเพราะเป็นที่มาของชื่ออำเภอบ้านสร้าง เนื่องจากเดิมพื้นที่อำเภอบ้านสร้างเป็นพื้นที่ป่าไม้เบญจพรรณ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดที่มีมาก คือ ช้างป่า ประกอบกับชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่บริเวณนี้นิยมเลี้ยงช้างชาวบ้านจึงขนานนามท้องที่นี้ว่า "บ้านช้าง" แต่เนื่องจากสำเนียงเรียกของชาวลาวเวียงจันทน์ เรียกว่า บ้านสร้าง ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน |
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านสร้าง อบต.บ้านสร้าง |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
หมู่ที่ 1 ตำบลบางกระเบา อบต.บางกระเบา |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านสร้าง อบต.บ้านสร้าง |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
หมู่ที่ 9 ตำบลบางกระเบา อบต.บางกระเบา |
|
|
|
    |
|
  
   |
|
|
|
|
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ ไหลผ่าน 1 สาย คือ แม่น้ำปราจีนบุรี |
|
|
|
เทศบาลตำบลบ้านสร้าง มีสภาพอากาศที่แห้งแล้งและชุ่มชื้นสลับกันอย่างชัดเจน ลักษณะแบบฝนเมืองร้อน ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีอากาศชุ่มชื้น และฝนตกตลอดฤดู แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวนั้น จะมีอากาศแห้งแล้ง มีฤดูที่แตกต่างกัน 3 ฤดู คือ |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม - เดือนพฤษภาคม |
|
|
|
|
|
|
|
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ค้าขาย พื้นที่ในเขตเทศบาลฯ เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน ที่ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะอย่างยิ่ง ที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน นอกจากนี้ในเขตเทศบาลฯ เป็นที่ตั้งศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี จึงเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการให้กับเกษตรกรได้อย่างดียิ่ง แต่ปัจจุบันนี้พื้นที่นา ส่วนใหญ่ได้แปรสภาพเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งไปเกือบจะหมดแล้ว เนื่องจากมีรายได้สูงและใช้เวลาน้อย ประชาชนส่วนใหญ่จึงหันมาทำอาชีพเลี้ยงกุ้งกันอย่างแพร่หลาย ทำให้พื้นที่ในเขตอำเภอบ้านสร้างเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง ที่มีชื่อเสียงมาก ดังนั้นรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่จึงได้มาจากการเกษตรเช่น ทำนา เลี้ยงกุ้ง ค้าขาย และรับจ้างตามโรงงาน |
|
|
|
   |
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 3,240 คน แยกเป็น |

 |
ชาย 1,590 คน คิดเป็นร้อยละ 49.07 |

 |
หญิง 1,650 คน คิดเป็นร้อยละ 50.93 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,604 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 202.50 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
ลำดับ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
เขต 1 |
|
|
|
|
|
|
|
|
1 |
|
ชุมชนรักบ้านสร้าง |
341 |
338 |
679 |
328 |
|
 |
2 |
|
ชุมชนหัวสะแก |
144 |
143 |
287 |
261 |
 |
|
3 |
|
ชุมชนตลาดบ้านสร้าง |
264 |
291 |
555 |
320 |
|
 |
4 |
|
ชุมชนบ้านสร้างก้าวหน้า |
189 |
198 |
387 |
194 |
 |
|
เขต 2 |
|
|
|
|
|
|
|
|
5 |
|
ชุมชนใต้วัดพัฒนา |
191 |
224 |
415 |
124 |
|
 |
6 |
|
ชุมชนคนพร้อมใจ |
176 |
177 |
353 |
128 |
 |
|
7 |
|
ชุมชนบ้านสร้างพัฒนา |
285 |
279 |
564 |
249 |
|
 |
|
|
รวม |
1,590 |
1,650 |
3,240 |
1,604 |
 |
|
|
***ข้อมูลสำนักบริหารทะเบียนอำเภอบ้านสร้าง ณ วันที่ 28 มกราคม 2564*** |
|
   |
|
|
|
|
|
|